จังหวัดปราจีนบุรี
คำขวัญจังหวัดปราจีนบุรี
ศรีมหาโพธิ์คู่บ้าน ไผ่ตงหวานคู่เมือง ผลไม้ลือเลื่อง เขตเมืองทวาราวดี ประวัติความเป็นมา
รู้จักจังหวัดปราจีนบุรี
ปราจีนบุรี (เดิมสะกดว่า ปราจิณบุรี) เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกของประเทศไทย เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน มีการพบซากโบราณสถานในหลายพื้นที่ของจังหวัด นอกจากนี้ ยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติหลายแห่ง มีอุทยานแห่งชาติอยู่ในเขตมรดกโลกถึง 3 แห่ง ทั้งยังเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ป่ามากที่สุดในภาคตะวันออกอีกด้วย
แต่เดิมจังหวัดปราจีนบุรีมีพื้นที่กว้างใหญ่มาก เนื่องจากในอดีตเคยมีการยุบรวมจังหวัดนครนายกเข้ากับจังหวัดดังกล่าวในปี พ.ศ. 2485 เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณในสภาวะที่เศรษฐกิจของประเทศตกต่ำระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อมาในปี พ.ศ. 2489 จึงมีพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดนครนายกขึ้นอีกครั้ง อย่างไรก็ตามพื้นที่ของจังหวัดปราจีนบุรีก็ยังคงมีความกว้างใหญ่ ทำให้เกิดปัญหาในการปกครองและให้บริการประชาชนเนื่องจากบางอำเภออยู่ห่างไกลจากตัวจังหวัดมาก จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติฯ ให้แยกบางอำเภอทางด้านทิศตะวันออกของจังหวัดปราจีนบุรีแล้วรวมกันจัดตั้งเป็นจังหวัดสระแก้ว ในปี พ.ศ. 2536 จนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบัน จังหวัดปราจีนบุรีได้รับการพัฒนาจนกลายเป็นหัวเมืองรองในด้านเศรษฐกิจที่สำคัญของภูมิภาค มีการลงทุนจากต่างประเทศ ทำให้เกิดนิคมอุตสาหกรรมเกิดขึ้นใหม่มากมาย ทำให้ภาพรวมในจังหวัดดีขึ้น รายได้ต่อปีต่อหัวของประชากร เฉลี่ย 450,000 - 480,000 บาท อยู่ในอันดับ 3 ของประเทศไทย อ้างอิงจากรายชื่อจังหวัดในประเทศไทยเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในจังหวัดต่อหัว
สมัยรัตนโกสินทร์
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เมืองปราจีนยังคงเป็นเมืองผ่านของเส้นทางเดินทัพระหว่างไทยกับกัมพูชา มีผู้คนอยู่อาศัยมากขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเมืองขึ้นหลายเมือง เช่น เมืองกบินทร์บุรี เมืองอรัญประเทศ เมืองวัฒนานคร เป็นต้น ทั้งยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองบางขนากขึ้น ส่งผลให้การติดต่อระหว่างเมืองปราจีนบุรีกับพระนครสะดวกรวดเร็วขึ้น
ต่อมาในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ได้มีพระราชดำริที่จะสร้างป้อมเมืองปราจีน แต่ได้ลงมือสร้างและแล้วเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมืองปราจีนเริ่มมีความสำคัญมากขึ้นตามลำดับ เพราะมีการค้นพบแหล่งทองคำที่เมืองกบินทร์บุรี มีการทำเหมืองทองคำ ต่อมาเมื่อปฏิรูปการปกครองจากระบบกินเมืองเป็นระบบเทศาภิบาล ได้ใช้เมืองปราจีนเป็นที่ว่าการมณฑลปราจีน ส่งผลให้เมืองปราจีนกลายเป็นศูนย์กลางความเจริญในภูมิภาคตะวันออก ครั้นเมื่อได้ย้ายที่ว่าการมณฑลปราจีนไปอยู่ที่เมืองฉะเชิงเทรา ทำให้เมืองปราจีนลดความสำคัญลง ประกอบกับเส้นทางคมนาคมเปลี่ยนไป คือมีการตัดเส้นทางรถไฟจากรุงเทพฯ ถึงเมืองฉะเชิงเทรา มีคนจีนไปสร้างหลักแหล่งในฉะเชิงเทรามากขึ้น มีโรงงานน้ำตาล โรงสีข้าว อันส่งผลให้เมืองฉะเชิงเทรากลายเป็นศูนย์กลางความเจริญแทนเมืองปราจีนบุรี
หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 ได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยการบริหารแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2476 ให้มีตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดแบบผู้ว่าราชการจังหวัด คณะกรมการจังหวัด และสภาจังหวัด ส่งผลให้มณฑลเทศาภิบาลปราจีนบุรีถูกยกเลิกไป เมืองปราจีนบุรีมีฐานะเป็นจังหวัดปราจีนบุรี
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2485 รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติยุบและรวมการปกครองบางจังหวัด พ.ศ. 2485 ให้ยุบและรวมการปกครองจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนครนายก จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนนทบุรี โดยในส่วนของจังหวัดนครนายกนั้นให้รวมท้องที่ของจังหวัดที่ยุบเข้าไว้ในการปกครองของจังหวัดปราจีนบุรี (ยกเว้นอำเภอบ้านนา ให้รวมเข้าไว้ในการปกครองของจังหวัดสระบุรี) จึงส่งผลให้จังหวัดปราจีนบุรีมีท้องที่กว้างขวางเพิ่มมากขึ้นเกินกำลังจังหวัดจะรับผิดชอบ กระทรวงมหาดไทยจึงได้เสนอร่างหลักการพระราชบัญญัติสถาปนาจังหวัดนครนายก พ.ศ. 2489 โดยได้สอบถามหน่วยราชการประจำจังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดสระบุรี และในที่สุดรัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พ.ศ. 2489
ต่อมา พ.ศ. 2536 ได้มีการแบ่งเขตพื้นที่การปกครองจังหวัดปราจีนบุรี โดยแยกพื้นที่อำเภอบางอำเภอทางด้านตะวันออกไปอยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดสระแก้ว ซึ่งตั้งขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดสระแก้ว พ.ศ. 2536
ภูมิศาสตร์
อาณาเขต
จังหวัดปราจีนบุรีมีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดอื่น ๆ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดนครนายกและจังหวัดนครราชสีมา
ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดสระแก้ว
ทิศใต้ ติดกับจังหวัดฉะเชิงเทรา
ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดนครนายกและจังหวัดฉะเชิงเทรา
เขตการปกครอง
การปกครองแบ่งออกเป็น 7 อำเภอ 65 ตำบล 708 หมู่บ้าน
1.อำเภอเมืองปราจีนบุรี
ที่ว่าการอำเภอเมืองปราจีนบุรี ถนนปราจีนอนุสรณ์ ตำบลหน้าเมือง
อำเภอเมือง ปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี 25000
โทรศัพท์ : 0-3721 3105, 0-3721-4062, 0-3721-4073
Fax: 0-3721-4073
Email: -
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567
2.อำเภอกบินทร์บุรี
ที่ว่าการอำเภอกบินทร์บุรี ถนนกบินทร์บุรี-ฉะเชิงเทรา ตำบลกบินทร์
อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี 25110
โทรศัพท์ : 0-3728-0234
Fax: 0-3728-0278
Email: kabinburidistrict@gmail.com
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567
3.อำเภอนาดี
ที่ว่าการอำเภอนาดี เลขที่ 273 หมู่ที่ 3 ตำบลนาดี อำเภอนาดี
จังหวัดปราจีนบุรี 25220
โทรศัพท์ : 0-3728-9074,0-3728-9151
Fax. : 0-3728-9074
Email :
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567
4.อำเภอบ้านสร้าง
ที่ว่าการอำเภอบ้านสร้าง ถนนบ้านสร้าง-ปราจีนบุรี ตำบลบ้านสร้าง
อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี 25150
โทรศัพท์ : 0-3727-1225
Fax: 0-3727-1225
Email:-
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567
5.อำเภอประจันตคาม
ที่ว่าการอำเภอประจันตคาม หมู่ที่ 2 ถนนหน้าอำเภอ ตำบลประจันตคาม
อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี 25130
โทรศัพท์ : 0-3729-1402
Fax. : 0-3729-1222,0-3729-1402
Email :-
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567
6.อำเภอศรีมหาโพธิ
ที่ว่าการอำเภอศรีมหาโพธิ หมู่ที่ 4 ถนนสุวินทวงศ์ ตำบลศรีมหาโพธิ
อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี 25140
โทรศัพท์ : 0-3727-9222
Fax. : 0-3727-9223
Email : sri_055@hotmail.com
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567
7.อำเภอศรีมโหสถ
ที่ว่าการอำเภอศรีมโหสถ ถนนสุวินทวงศ์ ตำบลโคกปีบ อำเภอศรีมโหสถ
จังหวัดปราจีนบุรี 25190
โทรศัพท์ : 0-3727-7410
Fax. : 0-3727-6410
Email :-
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567